IF คืออะไร ? ทำไมถึงต้องทำ

IF ย่อมาจากคำว่า Intermittent Fasting

โดยคำว่า Intermittent ที่แปลว่าไม่ต่อเนื่อง และ Fasting ที่แปลว่าการอดอาหาร

ดังนั้น เมื่อนำทั้งสองคำมาต่อกันจึงหมายถึง การอดอาหารเป็นช่วง ๆ คล้ายกับการฉันอาหารของพระสงฆ์ หรือการถือศีลอดของชาวมุสลิม

หัวใจของ IF

การกินแบบ IF จะเน้นจำกัดช่วงเวลาที่กินอาหารเป็นหลัก แต่ม่ได้จำกัดชนิดอาหารว่าควรกินหรือไม่ควรกินอะไร 

เบื้องหลังแนวคิดของการทำ IF คือ ต้องการให้ร่างกายมีช่วงระยะเวลาในการหลั่งอินซูลินให้น้อยที่สุด ซึ่งคล้ายกับหลักการของการกินอาหารแบบคีโตเจนิค

หลายท่านอาจจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า อินซูลินมีหน้าที่หลักในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะถูกหลั่งออกมาหลังจากรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต

แต่อินซูลินยังมีอีกหนึ่งหน้าที่ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การยับยั้งการสลายไขมัน

ยิ่งอินซูลินถูกหลั่งออกมามากเท่าไหร่ ร่างกายจะยิ่งนำไขมันสะสมมาใช้น้อยลงเท่านั้น

การทำ IF สามารถเข้ามาแก้ปัญหาจุดนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นการจำกัดระยะเวลาในการกินอาหารให้สั้นลง จึงเป็นการบังคับให้ร่างกายมีช่วงเวลาในการหลั่งอินซูลินน้อยลง และเปิดโอกาสให้มีการนำไขมันที่สะสมไว้มาใช้เผาผลาญเป็นพลังงานมากขึ้น

กินแบบไหนถึงจะเรียกว่า IF

รูปแบบการกิน IF ที่เป็นที่นิยม คือ การแบ่งช่วงเวลากินอาหาร และช่วงเวลาอดอาหารในหนึ่งวัน (24 ชั่วโมง)

ตัวอย่างเช่น

16:8 หมายถึง ไม่กินอาหารเลยเป็นเวลา 16 ชั่วโมง และกินอาหารได้ 8 ชั่วโมง

รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุด เพราะง่ายต่อการปฏิบัติตาม (ถึงแม้จะไม่ได้ง่ายขนาดนั้นก็ตาม) เพราะลองคิดว่า ถ้าเรานอนหลับไปแล้ว 8 ชั่วโมง เท่ากับว่าเราอดอาหารจริงแค่ 8 ชั่วโมงเท่านั้น 

12:12 คือ มีช่วงเวลาที่กินและอดอาหารเท่ากันที่ 12 ชม. เหมาะกับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น เพราะถ้านับรวมเวลานอนแล้ว เท่ากับว่าต้องอดอาหารแค่ 4 ชั่วโมงเท่านั้น 

นอกจากนี้ การทำ IF ยังมีประโยชน์ในแง่ของการสร้างระเบียบวินัยในการกิน เนื่องจากมีการจำกัดเวลาที่กินอาหารอย่างชัดเจน ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาการกินจุกจิก และการกินอาหารไม่ตรงเวลาได้อีกด้วย

IF is not a magic pill

อย่างไรก็ตาม การทำ IF ไม่ใช่ยาวิเศษ ไม่สามารถการันตีได้ว่าวิธีนี้จะช่วยลดน้ำหนักได้ 100% เพราะการลดน้ำหนักให้ได้ผลนั้นยังคงเป็นไปตาม หลักง่าย ๆ ในการลดน้ำหนัก อยู่ดี

นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติบางรายอาจมีอาการหิวโหยมาก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย จนอาจเผลอกินอาหารมากกว่าปกติ และทำให้การทำ IF มีประสิทธิภาพน้อยลงตามไปด้วย

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยก่อนจาก

หากคุณต้องการจะลองทำ IF ดูสักครั้ง ผมขอแนะนำว่า

  1. ควรเริ่มจากช่วงเวลาการอดอาหารที่สั้นก่อน แล้วค่อย ๆ ขยายระยะเวลาเพิ่มขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้มีเวลาปรับตัว และสามารถจัดการกับความหิวได้
  2. การเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เรารู้สึกหิวน้อยลง โดยที่ยังไม่ผิดกฎในการทำ IF
  3. หมั่นจิบน้ำตลอดทั้งวัน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดน้ำ และบรรเทาอาการหิวโหย ซึ่งจะช่วยให้สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย และได้ประโยชน์ต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น

ผลิตภัณฑ์ของเรา

สามารถสั่งซื้อได้ที่
🔵Facebook: https://m.me/PalatyneHealthySweetener
📱LINE@: https://lin.ee/iADtNKV
📞เบอร์โทรศัพท์: 086-369-5555
👉🏻ร้านค้า Lemon Farm ทุกสาขา
👉🏻ร้านค้า Golden Place สาขาพระราม 9, สีลม, หัวหิน1, สะพานสูง, ศิริราช2, ม.เกษตร, ถนนสุโขทัย, ชวนชม, ฉะเชิงเทรา


คุณอ่านบทความนี้หรือยัง?