Palatyne smart cabohydate for sport drink

พาลาทีน® แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำช่วยลดความเหนื่อยล้าให้นักกีฬา

Palatyne® Smart Carbohydrate for Sport Drinks

พาลาทีน แหล่งคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำช่วยลดความเหนื่อยล้าให้นักกีฬา

    คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) หนึ่งในสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นแหล่งพลังงานสำคัญต่อการทำงานของร่างกายและสมอง ในแต่ละวันร่างกายของเราควรได้รับคาร์โบไฮเดรต ประมาณ 3 – 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ ทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่ และมีเรี่ยวแรงในการทำงานหรือกิจกรรมต่างๆ ได้ตลอดทั้งวัน

    สำหรับกลุ่มนักกีฬาและผู้ออกกำลังกาย คาร์โบไฮเดรตถือเป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เร็วที่สุด เนื่องจากสามารถย่อย และดูดซึมได้ง่าย [1] โดยคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้แก่ร่างกาย และน้ำตาลกลูโคสส่วนที่เหลือจะถูกสะสมไว้เป็นพลังงานสำรองในรูปของไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อและตับ [1] ดังนั้น หากร่างกายของนักกีฬามีปริมาณไกลโคเจนเก็บสะสมในกล้ามเนื้อมากเท่าใด จะทำให้มีพลังานสำรองเก็บไว้มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพสามารถฝึกซ้อมได้นานมากกว่าปกติ [1]

   ในช่วงระยะเวลาก่อนการแข่งขัน นักกีฬาควรได้รับคาร์โบไฮเดรต ในปริมาณ 8 – 9 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic index; GI) ที่เหมาะสม เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตแต่ละชนิดจะมีอัตราการย่อย และดูดซึมที่แตกต่างกัน [1] คาร์โบไฮเดรตที่มีค่า GI สูง (GI > 70) เช่น น้ำตาลกลูโคส, น้ำตาลเดกซ์โทรส (Dextrose) และมอลโตเดกซ์ตริน (Maltodextrin) จะถูกย่อยและดูดซึมอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ร่างกายจึงใช้พลังงานจากน้ำตาลกลูโคส และไกลโคเจนหมดไปอย่างรวดเร็ว  ส่วนน้ำตาลที่มีค่า GI ต่ำ (GI ≤ 55)
เช่น น้ำตาลไอโซมอลทูโลส (Isomaltulose) และน้ำตาลฟรุกโทส (Fructose) จะทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ทำให้นักกีฬาสามารถฝึกซ้อมได้อย่างยาวนานมากยิ่งขึ้น [1]

    นวัตกรรมคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ พาลาทีน® หรือ น้ำตาลไอโซมอลทูโลส ผลิตจากธรรมชาติ มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ (GI=38) พาลาทีนจึงถูกย่อยและดูดซึมอย่างช้าๆ ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานยาวนานและสม่ำเสมอ การรับประทานพาลาทีนก่อนออกกำลังกาย ในปริมาณ 10 g/ 100 g จะช่วยลดการพึ่งพาไกลโคเจนในกล้ามเนื้อลดการเหนื่อยล้าของร่างกาย และลดอาการหิวหรือโหยในระหว่างการออกกำลังกาย [2] ทำให้นักกีฬาสามารถออกกำลังกายได้นานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พาลาทีน จึงเหมาะสำหรับนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬา (Sport drink) ทั้งชนิดผงชงดื่ม, เจล, แท่ง หรือเครื่องดื่มสำเร็จรูป เนื่องจากมีรสชาติดี ละลายได้ง่าย และมีความคงตัวสูง (Stable) ทั้งในสภาวะความร้อนและกรด

ประโยชน์ของพาลาทีนสำหรับเครื่องดื่มน้กกีฬา/เครื่องดื่มให้พลังงาน

ให้พลังงานยาวนานต่อเนื่อง (Prolong energy supply)

พาลาทีน (ไอโซมอลทูโลส) มีโครงสร้างโมเลกุลที่จับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกชนิดแอลฟา-1,6 (alpha-1,6-glycosidic bond) ซึ่งจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ไอโซมอลเทส (Isomaltase) ที่ใช้เวลานานกว่าการย่อยน้ำตาลทรายทั่วไปถึง 4 เท่า ทำให้พาลาทีนถูกย่อยและดูดซึมอย่างช้า ๆ เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด และปลดปล่อยเป็นพลังงานอย่างต่อเนื่องยาวนานให้แก่ร่างกายและสมอง โดยให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อ 1 กรัม เท่ากับคาร์โบไฮเดรตทั่วไป [3]

ช่วยให้ออกกำลังกายได้ยาวนานและมีประสิทธิภาพ (Improve exercise performance)

พาลาทีนช่วยรักษาระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้คงที่ ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ทำให้สมองได้รับพลังงานจากกลูโคสอย่างสม่ำเสมอ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายสะสมไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานระหว่างออกกำลังกาย ช่วยลดอาการเหนื่อยล้า และอาการหิวหรือโหยในระหว่างออกกำลังกายอันมีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ออกกำลังกายได้อย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น [2]

เอกสารอ้างอิง

1.สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562). คู่มือโภชนาการที่เหมาะสมสำหรับนักกีฬาในประเทศไทย, 14 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/117517

2.König D, Zdzieblik D, Holz A, Theis S, Gollhofer A. Substrate Utilization and Cycling Performance Following Palatinose™ Ingestion: A Randomized, Double-Blind, Controlled Trial. Nutrients. 2016 Jun 23;8(7):390.

3.B.A.R. Lina, D. Jonker, G. Kozianowski. Isomaltulose (Palatinose®): a review of biological and toxicological studies. Food and Chemical Toxicology. Volume 40. Issue 10. 2002. Pages 1375-1381.