ถ้าคุณยังจำได้ว่า ความหิวเกิดจากอะไร? จะพบว่า ร่างกายนั้นมีระบบอันซับซ้อนที่คอยประเมินแหล่งสะสมพลังงานในร่างกาย เพื่อดูว่าในตอนนี้ เราควรจะต้องกินอาหารเพิ่มหรือควรพอได้แล้ว
แต่บางครั้งร่างกายของเรากลับถูกระบบเหล่านี้หลอกเสียเอง จนกลายเป็นว่า กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มสักที และดูเหมือนว่าปัญหานี้จะยิ่งชัดเจนขึ้น เมื่อเรากินของหวาน เช่ม ขนม และเครื่องดื่มรสหวาน
ทำไมกันนะ?
น้ำตาลเป็นเหตุ สังเกตได้
ของหวานเหล่านี้มักอุดมไปด้วยน้ำตาลทราย ซึ่งน้ำตาลเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก ทำให้เมื่อกินเข้าไปแล้ว ร่างกายจะย่อยและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุให้น้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นปรี๊ดทันทีภายในระยะเวลาเพียง 15-30 นาที
เมื่อน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อินซูลินจะถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาในปริมาณมาก และรีบทำหน้าที่ตามปกติของมัน นั่นคือการนำน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า อินซูลินเหล่านี้มีปริมาณมากเกินไป ทำให้น้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่ในตอนแรกนั้นกลับต่ำลงอย่างฉับพลัน จนสุดท้ายเกิดเป็นภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำแทน
การเหวี่ยงขึ้น-ลงอย่างรวดเร็วของระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของความหิว
โดยพบว่า ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดลดลงเร็วมากเท่าไหร่ จะยิ่งส่งผลให้เรากลับมาหิวเร็วขึ้นเท่านั้น (1) นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดขึ้นนี้ยังส่งผลให้เรากินอาหารมากขึ้นในมื้อถัดไปอีกด้วย (2)
คาร์บ GI ต่ำ ช่วยคุณได้
ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหล่านี้ การเลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น พาลาทีน จะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ไม่เหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงจนทำให้เกิดความรู้สึกหิว อีกทั้ง ยังช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้อีกด้วย
ผลิตภัณฑ์ของเรา
สามารถสั่งซื้อได้ที่
🔵Facebook: https://m.me/PalatyneHealthySweetener
📱LINE@: https://lin.ee/iADtNKV
📞เบอร์โทรศัพท์: 086-369-5555
👉🏻ร้านค้า Lemon Farm ทุกสาขา
👉🏻ร้านค้า Golden Place สาขาพระราม 9, สีลม, หัวหิน1, สะพานสูง, ศิริราช2, ม.เกษตร, ถนนสุโขทัย, ชวนชม, ฉะเชิงเทรา
ที่มา
1. Chandler-Laney PC, Morrison SA, Goree LLT, Ellis AC, Casazza K, Desmond R, et al. Return of hunger following a relatively high carbohydrate breakfast is associated with earlier recorded glucose peak and nadir. Appetite. 2014;80:236-41.
2. Anderson GH, Catherine NL, Woodend DM, Wolever TM. Inverse association between the effect of carbohydrates on blood glucose and subsequent short-term food intake in young men. Am J Clin Nutr. 2002;76(5):1023-30.
คุณอ่านบทความนี้หรือยัง?
- สารให้ความหวานต่างจากน้ำตาลอย่างไร
- Palatyne smart cabohydate for sport drink
- สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลตก
- Fast Foot ทำร้ายผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าที่คิด
- 7 ของว่างสุดปัง เปลี่ยนจากร่างพังเป็นร่างผอม