ถึงแม้ว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จะถูกจัดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเราอาจจะเรียกกันอย่างติดปากว่า “โรคประจำตัว” แต่งานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่า โรคเบาหวานก็สามารถรักษาให้หายได้เหมือนกัน
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ “น้ำหนักตัว”
จากการศึกษามาอย่างยาวนาน แพทย์และนักวิจัยได้สังเกตถึงความเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยพบว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปกติมีแนวโน้มที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ
ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยในปี 2016 จึงได้คัดเลือกอาสาสมัครที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 และมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์มาเข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนักกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อศึกษาว่าจะมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไรบ้าง
น้ำหนักลด น้ำตาลลด
ผลการทดลองนี้เป็นที่จับตามองในวงการแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะอาสาสมัครจำนวนกว่าครึ่งหนึ่ง (46%) สามารถลดน้ำหนักจนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดกลับมาสู่ระดับปกติ โดยไม่จำเป็นต้องทานยารักษาเบาหวานเลยแม้แต่เม็ดเดียว
และที่สำคัญคือ ยิ่งลดน้ำหนักตัวได้มาก ก็จะยิ่งมีโอกาสหายเป็นปกติได้มาก
โดยพบว่ากลุ่มที่สามารถลดน้ำหนักตัวลงได้ 15 กิโลกรัม จะมีโอกาสหายจากโรคเบาหวานมากที่สุด ฟังดูแล้วอาจเป็นตัวเลขที่เยอะ แต่จริง ๆ แล้ว อาสาสมัครเหล่านี้ใช้เวลาเพียงแค่ 1 ปีในการลดน้ำหนักเท่านั้น
ถึงแม้ว่าจะมีอาสาสมัครอีกกลุ่มที่ยังมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่การลดน้ำหนักในครั้งนี้ก็ช่วยให้อาสาสมัครกลุ่มนี้คุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ถ้ารักษาหายแล้ว จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหรือไม่?
ข่าวร้ายคือ ยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ตลอด หากมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น หรือทานแป้งและน้ำตาลมากเกินไป
เพราะฉะนั้น การดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติร่วมกับการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพยังคงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาสุขภาพ ไม่ว่าคุณจะเป็นเบาหวานหรือไม่ก็ตาม
ผลิตภัณฑ์ของเรา
สามารถสั่งซื้อได้ที่
🔵Facebook: https://m.me/PalatyneHealthySweetener
📱LINE@: https://lin.ee/iADtNKV
📞เบอร์โทรศัพท์: 086-369-5555
👉🏻ร้านค้า Lemon Farm ทุกสาขา
👉🏻ร้านค้า Golden Place สาขาพระราม 9, สีลม, หัวหิน1, สะพานสูง, ศิริราช2, ม.เกษตร, ถนนสุโขทัย, ชวนชม, ฉะเชิงเทรา
ที่มา
- Leslie, W. S., Ford, I., Sattar, N., Hollingsworth, K. G., Adamson, A., Sniehotta, F. F., McCombie, L., Brosnahan, N., Ross, H., Mathers, J. C., Peters, C., Thom, G., Barnes, A., Kean, S., McIlvenna, Y., Rodrigues, A., Rehackova, L., Zhyzhneuskaya, S., Taylor, R., & Lean, M. E. (2016). The Diabetes Remission Clinical Trial (DiRECT): protocol for a cluster randomised trial. BMC family practice, 17, 20. https://doi.org/10.1186/s12875-016-0406-2
คุณอ่านบทความนี้หรือยัง?
- สารให้ความหวานต่างจากน้ำตาลอย่างไร
- Palatyne smart cabohydate for sport drink
- สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลตก
- Fast Foot ทำร้ายผู้ป่วยเบาหวานมากกว่าที่คิด
- 7 ของว่างสุดปัง เปลี่ยนจากร่างพังเป็นร่างผอม